เด็กตายได้...ผู้ใหญ่ก็ตายได้ ถ้าประมาทเรื่อง ยุงลาย
ยุงลายนำโรคไข้เลือดออก
เมื่อก่อนมักจะเป็นเฉพาะในกลุ่มเด็ก แต่เดี๋ยวนี้ เป็นกันได้ทั้งคนแก่ หนุ่มสาว
เด็ก และเป็นได้ตลอดปี ถ้าหากติดเชื้อไข้เลือดออกซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ที่ 3 จะมีอาการรุนแรงและมีโอกาสตายได้
..นอนอยู่ในบ้านอาจตายได้..ถ้าเป็นไข้เลือดออก..
โรคไข้เลือดออกคืออะไร
โรคไข้เลือดออก
คือ โรคติดต่ออันตราย มียุงลายเป็นตัวนำโรค
โดยยุงลายไปกัดคนที่มีเชื้อโรคไข้เลือดออก แล้วไปกัดคนอื่นอีกต่อหนึ่ง
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นได้ทุกคน
เป็นแล้วเป็นอีกได้ เป็นซ้ำครั้งต่อมามีโอกาสตายง่ายๆ
เราต้องช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย
เพื่อไม่ให้พวกเราทุกคนต้องสูญเสียชีวิต เงินทอง จากการป่วยเป็นไข้เลือดออก
อาการ
ผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีไข้สูง ไม่ลด 2-7 วัน ปวดหัว
คลื่นไส้ บางคนจะปวดท้อง แน่นท้อง
อาการสำคัญที่แตกต่างจากไข้หวัดคือ ไม่มีน้ำมูกหรือไอ
แต่จะปวดหัว และปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก
หลังจากมีไข้
2-3 วัน มักจะมีจุดแดงที่ผิวหนัง อาจมีเลือดกำเดาออก
เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระสีดำ ในระยะนี้ บางคนจะช็อค
ตัวเย็น กระสับกระส่าย ซึมลง หรือหมดสติ และอาจตายได้
สงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก จะทำอย่างไร
ถ้าเป็นไข้ธรรมดา ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว
กินยาพาราเซตามอลเท่านั้น ห้ามกินยาอย่างอื่น
ให้ดื่มน้ำตาลเกลือแร่หรือน้ำผลไม้บ่อยๆ สัก 2-3 วัน
จะหายเป็นไข้ได้
ถ้าไข้ไม่ลด น่าสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก
ให้รีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน
เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
แหล่งแพร่เชื้อโรคไข้เลือดออก
1. มีผู้ป่วยในชุมชน
2. มีคนไปรับเชื้อมาจากที่อื่น
มาแพร่เชื้อในชุมชน
สิ่งที่คุณคาดไม่ถึง
ลูกน้ำกลายเป็นยุงลาย ภายใน 7 วัน
ยุงลายมีชีวิตอยู่ได้ 45 วัน
บินหากินได้ไกลถึง 100 เมตร นำเชื้อโรคมาสู่คนได้
ทุกคนที่มันกัด
ไข้เลือดออกเป็นได้ตลอดปี
เพราะแหล่งเพาะลูกน้ำพบได้ตลอดปี
คนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก เป็นแล้วเป็นอีกได้
ถ้าเป็นซ้ำๆ อาจทำให้มีอาการรุนแรงถึงตายได้
ผู้ใหญ่เป็นไข้เลือดออก มักมีอาการรุนแรง
และมีโอกาสตายมากกว่าเด็ก
...อย่าปล่อยให้ลูกน้ำ..ลอยนวล!!!
ยุงลาย มาจากไหน มาจากลูกน้ำยุงลาย
ลูกน้ำยุงลาย มันอยู่ที่ไหน
อยู่ในภาชนะที่มีน้ำขัง
ต้องทำลาย....ต้องทำลาย
“การป้องกันนั้นง่ายๆ
ต้องไม่ให้ยุงลายเกิด”
ทำลายแหล่งเพาะยุงลาย...ทุกชนิด
แหล่งเพาะลูกน้ำยุงลาย อยู่ที่ไหน? ทำให้หมดไปได้อย่างไร?
1. ที่บ้านเราเอง
ต้องทำลายแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลาย
โอ่งน้ำ ต้องมีผ้ามุ้งมัดปากโอ่ง
ปิดฝาอีกชั้นหนึ่ง
จานรองขาตู้กับข้าว ต้องใส่เกลือ หรือน้ำส้มสายชู หรือผงซักฟอก
หรือใส่น้ำเดือดทุก 7 วัน หรือใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ
ภาชนะในห้องน้ำ ตักลูกน้ำทิ้ง หรือทำความสะอาดบ่อยๆ
หรือใส่ปลากินลูกน้ำ หรือใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ
แจกันดอกไม้
/ ภาชนะใส่ไม้เลื้อย เปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ หรือใช้สำลี / กระดาษ ปิดปากแจกัน
จานรองกระถางต้นไม้
เทน้ำทิ้งทุกสัปดาห์ หรือใส่ทรายจนเกือบเต็มจาน เพื่อดูดซับน้ำ
บริเวณรอบบ้านเราตรงที่มีเศษภาชนะ
/ วัสดุ / ขยะ / ถุงพลาสติก ที่น้ำขังได้ ต้องกำจัดขยะ หรือ
ทำความสะอาดบริเวณบ้านทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง
2. ข้างนอกบ้านเรา และที่สาธารณะ เช่น วัด โรงเรียน
ศูนย์เด็กเล็ก มีแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลายในห้องน้ำห้องส้วม ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ
หรือใส่ปลากินลูกน้ำ ท่อระบายน้ำ อย่าให้เศษขยะอุดขวางทางน้ำไหล อย่าให้น้ำขัง หลุมน้ำขังรอบวัด โรงเรียน
ก็เช่นกัน ช่วยกันกลบกองขยะ ภาชนะแตกหัก ถุงใส่ขยะที่ไม่ได้มัดปากถุง น้ำจะขัง
ยุงจะไข่ ต้องฝังกลบ ทำลายทิ้งให้หมด ถังเก็บน้ำในที่สาธารณะต้องช่วยกันดูแล
ปิดฝาให้สนิท เพราะเป็นแหล่งเพาะยุง ใบไม้ใหญ่น้อยในสวนรอบบ้าน หมั่นเก็บกวาด
เผาทิ้งหรือเอาไปทำปุ๋ยคอก
ร่วมมือกันทำลายบ่อยๆ
“ถ้ากำจัดแหล่งที่ลูกน้ำจะเกิดได้ทุกแห่ง
จะเป็นการช่วยป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดยุงชนิดอื่นๆ ได้อีกด้วย”
จะควบคุมโรคไข้เลือดได้สำเร็จ
ต้องเริ่มที่ตัวของเราก่อน ลงมือกำจัดแหล่งเพาะยุงในบ้านเราเองก่อน
ถ้าเราไม่ทำ ทุกคนในบ้านต้องเสี่ยง เสี่ยงทุกวัน
เพราะลูกน้ำกลายเป็นยุงทุกวัน กัดคนดูดเลือดเป็นอาหารทุกวัน บินไปทุกที่
ไปกัดใครก็ไม่รู้ที่เป็นโรค แล้วถ้ามันมากัดเรา แย่แน่ๆ
ถ้าเราทำสม่ำเสมอ ลดความเสี่ยง ไม่ต้องถูกยุงกัด
นั่นย่อมเป็นสำนึกที่ดีต่อชีวิตของเราเอง และป้องกันทุกชีวิตของครอบครัวให้ปลอดภัย
“อย่าให้บ้านของเราเอง
หมู่บ้านของเราได้ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคไข้เลือดออกนะ...จะบอกให้!!
อสม. อาจสังเกตจากเด็กเล็กตอนไปเยี่ยมบ้านว่า
มีตุ่มจากยุงกัดหรือไม่ แค่พบเพียงรายเดียวก็ถือว่าเสี่ยงแล้ว ยิ่งพบมากหลายคน ยิ่งแสดงว่ามียุงชุมมาก
ต้องรีบทำลายแหล่งเพาะลูกน้ำ และยุงลายตามบ้านบริเวณนั้นเป็นพิเศษ
ปราบยุงลายให้สิ้นซาก ไม่ยุ่งยากด้วย ป.ป.ป. ( 3 ป )
ปิด ฝาโอ่งและภาชนะใส่น้ำ
เปลี่ยน น้ำในแจกันทุกวันศุกร์ น้ำในห้องน้ำทุกสัปดาห์
สภาพน้ำในถ้วยรองขาตู้กับข้าง
ปล่อย น้ำที่ขังในภาชนะต่างๆ ปลาหางนกยูงในอ่างบัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น